ติวเตอร์. เน คูรสอนพิเศษของ Learn'sAC
วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
บริหารเทคโนโลยี ( MTT )
การจัดทำเว็บไซต์ ต่างๆ ระบบ API Application Programming Interface ทำประโยชน์ให้สังคม โดยใช้ประสบการณ์ที่สะสมมา สายงาน Dev. Developer มากกว่า 6 ปี พัฒนาระบบ Webapp มากกว่า 80 ระบบ / การจัดทำเว็บไซต์ ต่างๆ ระบบ API Application Programming Interface
ติดต่อติวเตอร์ เน
ID: @learnsac คลิกเพิ่มเพื่อนวิธีการสมัครเรียนกับ Learn'sAC แอดไลน์ ID : @learnsac
วิธีการสมัครเรียนกับ Learn'sAC แอดไลน์ ID : @learnsac
สถานที่รับสอนพิเศษ
นนทบุรี บางบัวทอง แคราย บางกระสอ
รายละเอียดติวเตอร์
การับรอง รัฐและเอกชน เอกสารที่ทางการตรวจสอบ ซึ่งหมายรวมถึงเจ้าหน้าที่ทางเจ้าพนักงานกงสุลของ รัฐและเอกชน เป็นผู้รับรองเอกสารการรับรอง
- กระทรวงศึกษาธิการ, Website Affiliate MKT. ( เหรียญทอง ประเทศไทย )
- กระทรวงศึกษาธิการ, คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ( สาขางาน วิทยาการคอมพิวเตอร์ )
- กระทรวงศึกษาธิการ, บริหารธุกิจ ( สาขางาน คอมพิวเตอร์กราฟิก Multimedia )
- Net. Design, Movie and Visual Effect Dexign
- ชื่อติวเตอร์: เน
- สังกัดการศึกษา: วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
- การศึกษา: อุดมศึกษา ตรี
- คณะ: บริหารเทคโนโลยี ( MTT )
- วันที่อัพเดท: 4 พฤษภาคม 2567 / 23.58
- สถานที่รับสอน: นนทบุรี, บางบัวทอง, แคราย, บางกระสอ
- จังหวัด: นนทบุรี
- แท็ก: naelike, บริหาร, บริหารธุรกิจ, MTT, บริหารเทคโนโลยี
วิชาหลักสูตรที่สอน ติวเตอร์ที่สอน
ศูนย์รวมติวเตอร์กวดวิชาครูสอนสอนพิเศษตามบ้าน ติวเตอร์ตัวต่อตัว เรียนตัวต่อตัว เพื่อการสอบเข้ามัธยมปลาย มหาลัยที่ครบครันมากที่สุดในประเทศไทย
- Javascript : Developer Plugin, ปวช, ปวส, ป.ตรี
- NodeJS : Cross Platform Runtime Environment สำหรับฝั่ง Server Open Source และ Library, ปวช, ปวส, ป.ตรี
- PHP : MVC & Developer Programming, ปวช, ปวส, ป.ตรี
- HTML & CSS, SCSS : UX/UI Design Website, ปวช, ปวส, ป.ตรี
- Nativescript & Dart : Mobile App, ปวช, ปวส, ป.ตรี
- Nuxt JS : Web application & NPM, ปวช, ปวส, ป.ตรี
วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
บริหารเทคโนโลยี ( MTT )
รายละเอียดสังกัดการศึกษา
เมื่อโรงเรียนได้เปิดดำเนินการไปแล้ว ผู้บริหารโรงเรียน ซึ่งมีอาจารย์ ดร.ณรงค์ มงคลวนิช เป็นผู้อำนวยการ ผู้จัดการและอาจารย์ใหญ่ อาจารย์ ดร.เกษลัย มงคลวนิช เป็นรองผู้อำนวยการ พร้อมทั้งคณาจารย์ จุดเริ่มต้นที่ก่อตั้งโรงเรียน ซึ่งมีเพียงอาคารคอนกรีต 3 ชั้น 1 หลัง ใช้เป็นห้องเรียน 8 ห้อง ห้องปฏิบัติการ 6 ห้อง ห้องฝ่ายบริหารและธุรการอย่างละ 1 ห้อง (ปัจจุบันรื้อถอนและสร้างอาคารอเนกประสงค์ 12 ชั้นแทน) มีอาคารไม้ 2 ชั้น 1 หลัง ชั้นบนใช้เป็นห้องสมุด ห้องพยาบาล ชั้นล่างเป็นห้องอาหาร เมื่อเปิดดำเนินการไปได้เพียง 1 ปี จึงได้ขยายเนื้อที่จากเดิมซึ่งมีอยู่ 6 ไร่เศษ ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 13 ไร่ 250 ตารางวา และสร้างอาคารเพิ่มขึ้นตามลำดับ ดังนี้
- สร้างอาคารคอนกรีต 4 ชั้น 1 หลัง (อาคาร 2) เมื่อ พ.ศ. 2508 ใช้เป็นห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ
- สร้างอาคารโครงเหล็กชั้นเดียว 1 หลัง (อาคาร 3)เมื่อ พ.ศ. 2510 ใช้เป็นโรงอาหาร และเมื่อได้ก่อสร้างอาคารโรงอาหารใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2512 แล้วจึงใช้เป็นห้องปฏิบัติการวิชาเทคนิคพื้นฐาน (ปัจจุบันรื้อถอนและสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้นแทน)
- สร้างอาคารคอนกรีต 2 ชั้น2 1 หลัง (อาคาร 6)เมื่อ พ.ศ. 251 ใช้เป็นโรงอาหาร
- สร้างอาคารคอนกรีต 4 ชั้น 1 หลัง (อาคาร 4)เมื่อ พ.ศ. 2514 เพื่อใช้เป็นห้องปฏิบัติการวิชาช่างยนต์ และสร้างอาคาร 5 ชั้น 1 หลัง (อาคาร 5) เพื่อใช้เป็นห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ
- ก่อสร้างอาคารคอนกรีต 5 ชั้น ขึ้นอีก 1 หลัง เมื่อ พ.ศ. 2524 เพื่อเป็นที่ระลึกใน โอกาสครบรอบ 200 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ในปี พ.ศ. 2525 และใช้ชื่ออาคารหลังนี้ว่า อาคารเกษณรงค์ (อาคาร7) อาคารหลังนี้เป็นอาคารปฏิบัติการวิชาช่างยนต์ และวิชาเทคนิคพื้นฐาน
- ได้สร้างอาคารคอนกรีต 4 ชั้นขึ้น 1 หลัง (อาคาร 8)เมื่อ พ.ศ. 2528 เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการก่อตั้งโรงเรียนมาครบ 20 ปี และอาคารหลังนี้ได้ใช้เป็นห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ สำหรับวิชาช่างไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนชั้นล่างใช้เป็นห้องพยาบาลและห้องอเนกประสงค์สำหรับ ให้นักศึกษาพักผ่อนเล่นกีฬา และเป็นสถานที่จัดกิจกรรมของโรงเรียน
เนื่องในวโรกาสสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ ปีมหามงคล พ.ศ. 2535 ทางโรงเรียนได้สร้างอาคารอเนกประสงค์ 12 ชั้น (อาคาร 9) เพื่อเป็นอนุสรณ์ในพระราชพิธีอันเป็นมหามงคลยิ่งของปวงชนชาวไทย อาคารหลังนี้ มีหอประชุมใหญ่ 1,200 ที่นั่ง ห้องสัมมนา ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ที่ทำการฝ่ายบริหารและห้องประกอบอื่นๆ อาคารหลังนี้เปิดใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2538 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินีนาถ พระราชทานนามอาคารนี้ว่า “อาคารเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ” และพระราชทานพระราชานุญาตให้อัญเชิญตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ ประดิษฐานไว้เหนือชื่ออาคารและในปีเดียวกันนี้ได้ขยายเนื้อที่และสร้างอาคารเรียน 2 ชั้น อีก 2 หลัง (อาคาร 10,11) เพื่อใช้เป็นอาคารเรียน
ได้ก่อสร้างอาคารกีฬาขึ้นอีก 1 หลัง (อาคาร 12)เมื่อ พ.ศ. 2536 เพื่อใช้เป็นสถานที่เรียนวิชาพลศึกษา และให้นักเรียนนักศึกษาพักผ่อนและออกกำลังกาย
ได้สร้างอาคารกิจกรรมและนันทนาการ เป็นอาคารโครงเหล็ก 3 ชั้นขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2537 เพื่อเพิ่มเนื้อที่พักผ่อนให้กับนักเรียน-นักศึกษา นอกจากนั้น ชั้น 2-3 ของอาคารจะจัดเป็นห้องกิจกรรมและนันทนาการของนักเรียน
ได้สร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 ชั้น (อาคาร 13)เมื่อ พ.ศ. 2539 เพื่อเป็นอาคารเรียน ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม
ได้สร้างสนามกีฬากลางแจ้ง เมื่อ พ.ศ. 2541 เพื่อใช้เป็นสถานที่เรียนวิชาพลานามัย และออกกำลังกายของนักศึกษา
ได้พิจารณาชื่อโรงเรียนที่ตั้งไว้ตั้งแต่เริ่มแรกว่า “โรงเรียนช่างกลสยาม” สมควรที่จะเปลี่ยนชื่อใหม่ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับแผนพัฒนาโรงเรียน ดังนั้นในปี พ.ศ. 2524 จึงได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น “โรงเรียนเทคโนโลยีสยาม (ช่างกลสยาม)” การที่โรงเรียนได้ใช้ชื่อ (ช่างกลสยาม) ไว้ท้ายชื่อโรงเรียนใหม่ด้วยนั้น เพื่อรักษาสถานภาพความเป็น โรงเรียนช่างกลแห่งแรกของประเทศไทยไว้
โรงเรียนเทคโนโลยีสยาม ได้รับรางวัลพระราชทานระดับอุดมศึกษา (ต่ำกว่าปริญญาตรี) ประจำปีการศึกษา 2544 และในปีการศึกษา 2554 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค)