ติวเตอร์. บี คูรสอนพิเศษของ Learn'sAC

ติวเตอร์. บี

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เศรษฐศาสตร์
ติดต่อติวเตอร์

ติดต่อติวเตอร์ บี
ID: @learnsac คลิกเพิ่มเพื่อน

วิธีการสมัครเรียนกับ Learn'sAC แอดไลน์ ID : @learnsac

ติวเตอร์. บี
ID Line : @learnsac คลิกเพิ่มเพื่อน

วิธีการสมัครเรียนกับ Learn'sAC แอดไลน์ ID : @learnsac

สถานที่รับสอนพิเศษ

งามวงศ์วาน เกษตร พระราม3

รายละเอียดติวเตอร์
N/A
  • ชื่อติวเตอร์: บี
  • สังกัดการศึกษา: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • การศึกษา: อุดมศึกษา ตรี
  • คณะ: เศรษฐศาสตร์
  • วันที่อัพเดท: 4 พฤษภาคม 2567 / 23.55
  • สถานที่รับสอน: งามวงศ์วาน, เกษตร, พระราม3
  • จังหวัด: นนทบุรี
  • แท็ก: สอนศิลปะ, สอนตามบ้าน, ติวเตอร์

วิชาหลักสูตรที่สอน ติวเตอร์ที่สอน

ศูนย์รวมติวเตอร์กวดวิชาครูสอนสอนพิเศษตามบ้าน ติวเตอร์ตัวต่อตัว เรียนตัวต่อตัว เพื่อการสอบเข้ามัธยมปลาย มหาลัยที่ครบครันมากที่สุดในประเทศไทย

  • Basic Drawing : มัธยมศึกษา, ม.1 - ม.3
  • ศิลปะ : ประถมศึกษา, ป.1 - ป.6
ติวเตอร์. บี

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อังกฤษ: Thammasat University; อักษรย่อ: มธ. – TU) เป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่สองของประเทศไทย ก่อตั้งในชื่อ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (อังกฤษ: The University of Moral and Political Sciences; อักษรย่อ: ม.ธ.ก. – UMPS) เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นตลาดวิชา เพื่อการศึกษาด้านกฎหมายและการเมือง สำหรับประชาชนทั่วไป ต่อมาใน พ.ศ. 2495 รัฐบาลเปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบัน นับเป็นมหาวิทยาลัยที่มีอายุเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย และมีประวัติศาสตร์ผูกพันกับพัฒนาการทางการเมือง และความเป็นไปของชาติ ตลอดจนเรื่องของรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย[5] โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และ 6 ตุลา 2519[6] มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีผู้ประสาสน์การและอธิการบดีมาแล้ว 23 คน อธิการบดีคนปัจจุบันคือ รองศาสตราจารย์ เกศินี วิฑูรชาติ และนายกสภามหาวิทยาลัย คือ ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ราชกิจจานุเบกษาได้ลงประกาศ "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2558" ซึ่งได้มีผลให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีสภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในอีก 30 วันต่อมา[7] มหาวิทยาลัยเป็นสมาชิกของเครือข่าย LAOTSE[8] ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในเอเชียและยุโรป ตามกรอบความร่วมมืออาเซม รวมทั้งเป็นสมาชิกของเครือข่ายสถาบันการศึกษาและวิจัยในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMSARN)[9] อีกด้วย ปัจจุบันมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดการศึกษาครอบคลุมทางด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ประกอบไปด้วย 19 คณะ 4 วิทยาลัย 1 สถาบัน 1 สำนักวิชา จำนวนหลักสูตรทุกระดับจำนวนทั้งสิ้น 297 หลักสูตร เป็นระดับปริญญาตรี 139 หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิต 6 หลักสูตร ปริญญาตรีควบปริญญาโท 4 หลักสูตร ปริญญาโท 118 หลักสูตร และปริญญาเอก 34 หลักสูตร จัดการศึกษาทั้งภาคกลางวันและภาคค่ำ (ข้อมูล พ.ศ. 2557–2558[10]) นอกจากนี้ได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ จาก กระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2552 อีกด้วย
รายละเอียดสังกัดการศึกษา

มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง[แก้]

คณะราษฎรก่อการปฏิวัติสยาม เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475[5][11] ในคำประกาศของคณะราษฎร ระบุว่า การที่ราษฎรยังถูกดูหมิ่นว่ายังโง่อยู่ ไม่พร้อมกับระบอบประชาธิปไตยนั้น "เป็นเพราะขาดการศึกษา ที่พวกเจ้าปกปิดไว้ไม่ให้เรียนเต็มที่" เป็นผลให้ในหลัก 6 ประการของคณะราษฎร ประการที่ 6 ระบุว่า "จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร"[12] สถาบันศึกษาแบบใหม่ ที่เปิดกว้างให้ประชาชนชาวสยาม ได้รับการศึกษาชั้นสูง โดยเฉพาะที่จะรองรับการปกครองบ้านเมืองที่เปลี่ยนไป จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีควบคู่ไปกับการปฏิวัติ

ด้วยเหตุนี้ จึงมีการตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง พุทธศักราช 2476 ขึ้นเมื่อวันที่ 17 มีนาคม และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ปีเดียวกัน[13] โดยมีใจความสำคัญว่า

มาตรา 4 ให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นมหาวิทยาลัยหนึ่ง เรียกว่า 'มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง' มีหน้าที่จัดการศึกษาวิชากฎหมาย วิชาการเมือง วิชาเศรษฐการ และบรรดาวิชาอื่น ๆ อันเกี่ยวกับธรรมศาสตร์และการเมือง มาตรา 5 ให้โอนคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตลอดจนทรัพย์สินและงบประมาณของคณะเหล่านั้น มาขึ้นต่อมหาวิทยาลัยนี้ ก่อนวันที่ 1 เมษายน พุทธศักราช 2477

จากนั้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จในพิธีเปิดมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ณ ที่ตั้งเดิมของโรงเรียนกฎหมาย ริมถนนราชดำเนิน เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา[5][14][15]

ปรีดี พนมยงค์มีบทบาทเป็นผู้ร่างโครงการ หาที่ตั้ง และวางหลักสูตรของมหาวิทยาลัย[16]: 126  และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ประศาสน์การคนแรกและคนเดียวของมหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2477–2490) โดยตั้งใจให้เป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชา อุปมามหาวิทยาลัยเป็นเสมือนบ่อน้ำที่บำบัดความกระหายให้แก่ราษฎร ให้ราษฎรมีความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษา[17] เงินทุนของมหาวิทยาลัยอาศัยเงินค่าสมัครเข้าเรียนของนักศึกษาและดอกผลของธนาคารแห่งเอเชียเพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมซึ่งปรีดีเป็นผู้ก่อตั้ง โดยให้มหาวิทยาลัยถือหุ้นถึง 80%[18] นอกจากนี้ปรีดียังได้ยกกิจการโรงพิมพ์นิติสาส์นของตนให้มหาวิทยาลัยเพื่อพิมพ์ตำราก[19]

ในช่วงเวลา 2 ปีแรก (พ.ศ. 2477–2479) การเรียนการสอนของ ม.ธ.ก. ยังคงดำเนินอยู่ที่ตึกโรงเรียนกฎหมายเดิม ที่เชิงสะพานผ่านฟ้าภิภพลีลา[5] ต่อมาเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2478 ม.ธ.ก.ขอซื้อที่ดินบริเวณท่าพระจันทร์ ซึ่งเดิมเป็นที่ของทหาร และปรับปรุงอาคารเดิม พร้อมทั้งสร้างตึกโดม และเมื่อ พ.ศ. 2481 ม.ธ.ก. ก่อตั้งโรงเรียนเตรียมปริญญา มีหลักสูตร 2 ปี เพื่อรับผู้ประสงค์จะเข้าเรียนต่อที่ ม.ธ.ก.โดยตรง โรงเรียนเตรียมปริญญา มีหลักสูตรการสอน หนักไปทางภาษา ทั้งภาษาไทย ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และวิชาทางสังคม เช่น ปรัชญา วิชาเทคโนโลยี ดนตรี พิมพ์ดีด และชวเลข เป็นต้น แต่ยกเลิกไปใน พ.ศ. 2490

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[แก้]

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 คณะรัฐประหารเข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศ ทำให้มหาวิทยาลัยได้รับผลกระทบโดยตรง[20] ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ผู้ประศาสน์การ ต้องลี้ภัยการเมืองไปอยู่ต่างประเทศ รัฐบาลนำคำว่า "การเมือง" ออกจากชื่อมหาวิทยาลัย เหลือเพียง "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์"[21] พร้อมทั้งยกเลิกตำแหน่งผู้ประศาสน์การ โดยใช้ชื่อตำแหน่งว่าอธิการบดีแทน[5] หลักสูตรการศึกษาธรรมศาสตรบัณฑิต เปลี่ยนแปลงเป็นคณะนิติศาสตร์, พาณิชยศาสตร์และการบัญชี, รัฐศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ ความเป็นตลาดวิชาหมดไปตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2495[21] ภายหลังจากที่ปรีดีต้องลี้ภัยทางการเมือง รัฐบาลได้เปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัย โดยตัดคำว่า "วิชา" และ "การเมือง" ออก เหลือเพียงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อไม่ให้นักศึกษายุ่งเกี่ยวกับการเมือง ทั้งยังขายหุ้นทั้งหมดของมหาวิทยาลัย จนไม่มีความสามารถที่จะเลี้ยงตัวเองได้ กลายเป็นมหาวิทยาลัยปิดที่ต้องอาศัยงบประมาณจากรัฐบาล[22][23]

พ.ศ. 2518 ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อธิการบดีในขณะนั้น เห็นควรขยายการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ในระดับปริญญาบัณฑิตเพิ่มขึ้น พื้นที่เดิมบริเวณท่าพระจันทร์ ไม่เพียงพอต่อการขยายตัวทางวิชาการ และการพัฒนา มหาวิทยาลัยจึงเจรจาขอแลกเปลี่ยนที่ดิน กับบริเวณนิคมอุตสาหกรรมของกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อรองรับการขยายตัวของมหาวิทยาลัย เรียกว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต นอกจากนี้ ยังขยายไปที่ศูนย์ลำปาง และศูนย์พัทยาด้วย

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยังคงดำเนินการเรียนการสอน และมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยหลักสูตรปริญญาตรีภาคปกติทั้งหมด และหลักสูตรบัณฑิตศึกษากลุ่มวิทยาศาสตร์ จัดการเรียนการสอนที่ศูนย์รังสิต และหลักสูตรบัณฑิตศึกษากลุ่มสังคมศาสตร์ โครงการนานาชาติ และโครงการพิเศษ จัดการเรียนการสอนที่ท่าพระจันทร์[24]

เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 มีประกาศพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2558 [25] ส่งผลทำให้มหาวิทยาลัยเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเริ่มตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ครูสอนติวเตอร์ของ Learn'sAC ในการสอนพิเศษ

ติวเตอร์ learnsacอู๋

ติวเตอร์ อู๋

วิศวกรรมศาสตร์

  • ปิ่นเกล้า บางพลัด ราชพฤกษ์
ดูโปรไฟล์ติวเตอร์
ติวเตอร์ learnsacดรีม

ติวเตอร์ ดรีม

นวัตกรรมสื่อสารสังคม

  • รัตนาธิเบศร์ บางใหญ่
ดูโปรไฟล์ติวเตอร์
ติวเตอร์ learnsacบิ้ว

ติวเตอร์ บิ้ว

International Tourism and Hospitality Management

  • พระราม3 สาธร สีลม
ดูโปรไฟล์ติวเตอร์
ติวเตอร์ learnsacบี

ติวเตอร์ บี

เศรษฐศาสตร์

  • งามวงศ์วาน เกษตร พระราม3
ดูโปรไฟล์ติวเตอร์
ติวเตอร์ learnsacเน

ติวเตอร์ เน

บริหารเทคโนโลยี ( MTT )

  • นนทบุรี บางบัวทอง แคราย บางกระสอ
ดูโปรไฟล์ติวเตอร์
ติวเตอร์ learnsacเทย่า

ติวเตอร์ เทย่า

พยาบาลศาสตร์

  • รังสิต บางกระสอ รัตนาธิเบศร์
ดูโปรไฟล์ติวเตอร์
ติวเตอร์ learnsacมายด์

ติวเตอร์ มายด์

บริหารธุรกิจ

  • นนทบุรี บางใหญ่ เมืองนนท์
ดูโปรไฟล์ติวเตอร์

บทความแนะนำ

8 วิธีพัฒนาภาษาอังกฤษ..

การสอดแทรกภาษาอังกฤษเข้าไปในทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่นเวลาดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ เปลี่ยนสภาพแวดล้อมของเราให้ล้อมรอบไปด้วยภาษาอังกฤษ เมื่อเราเจอมันทุกวันๆ เราจะคุ้นชินและเก่งยิ่งขึ้น

วิธีเปิดใจให้กับภาษาอังกฤษ

วันนี้ Learn’sAC มีวิธีคิดและวิธีทำให้สำหรับน้องๆ ที่ยังไม่เปิดใจในภาษาอังกฤษ

GPAX กับ GPA ต่างกันยังไง..?

น้องๆหลายคนอาจจะงงว่า GPAX และ GPA แตกต่างกันยังไง

5 ภาษาที่3น่าเรียน ได้เปรียบแน่นอน

ภาษาที่3 เป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากปัจจุบันโลกธุรกิจ ต้องใช้ภาษาที่สามในการสื่อสารยิ่งใครรู้ภาษาที่สามก็จะมีข้อได้เปรียบในการประกอบอาชีพ

อยากสอบติดวิศวะ เตรียมตัวอะไรบ้าง

พูดถึงคณะวิศวกรรมศาสตร์ คงเป็นคณะที่ใครหลายๆคนใฝ่ฝันที่จะเข้าเรียนต่อ แต่น้องบางคนอาจจะยังไม่รู้ว่าจริงๆ ว่าคณะวิศวะเรียนอะไรบ้าง และมีสาขาอะไรบ้าง

สายศิลป์ VS สายวิทย์ ต่างกันยังไง..?

สำหรับน้องๆที่กำลังจะขึ้นม.ปลายแล้วกำลังตัดสินใจในการเรียนต่อสายไหนดี ทั้งสายวิทย์-คณิต สายศิลป์-คำนวณ และสายศิลป์-ภาษา ก่อนที่น้องๆจะตัดสินใจเลือกสายในม.ปลาย

10 โรงเรียนดัง ม.ปลายในกรุงเทพ

สำหรับน้องๆ ที่ต้องการเรียนต่อระดับมัธยมปลายถือเป็นอีกหนึ่งจุดเปลี่ยนสำคัญที่ส่งผลต่ออนาคตการเรียนของน้องๆ โดยเฉพาะการวางแผนเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย เพราะแต่ละคณะจะมีเกณฑ์รับนักเรียนจากแผนการเรียนที่แตกต่างกัน

10 ภาควิชา วิศวะเกษตร

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มากถึง 15,082 คน โดยสาขาที่ไดรับความนิยมสูงสุด ได้แก่ วิชาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมเครื่องกล

วิธีการสมัครเรียนกับ Learn'sAC

แอดไลน์ ID : @learnsac

แอดไลน์ ID : @learnsac

วิชาที่คุณต้องการสำคัญมากในการค้นหาติวเตอร์ที่เหมาะสม เช่น ภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์, ฯลฯ. และ หลังจากที่คุณตัดสินใจเลือกติวเตอร์แล้ว, คุณสามารถติดต่อพวกเขาโดยตรงผ่านทางแพลตฟอร์มที่คุณเลือก. ตอนนี้คุณสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเรียนการสอน, เวลา, และค่าใช้จ่าย. จัดการเรียนรู้ของคุณเพื่อให้เข้ากับตารางเวลาของติวเตอร์ และเช่นกันว่าติวเตอร์ก็ต้องปรับตารางเวลาให้เข้ากับคุณ. คุณก็สามารถเริ่มการเรียนรู้กับติวเตอร์ของคุณได้!

  • เปิดแอป LINE บนอุปกรณ์ของคุณ
  • ไปที่แท็บ "เพื่อน" ที่มุมล่างขวา
  • กดที่ไอคอน "เพิ่มเพื่อน" ที่อยู่บนขวามือ
  • ในหน้าต่างที่ปรากฏขึ้น, คุณสามารถค้นหาบัญชี LINE Official ที่ต้องการด้วยชื่อ
  • เมื่อคุณเจอบัญชีนั้น, คลิก "เพิ่มเพื่อน" หรือ "ติดตาม"
ติวเตอร์ ครูสอนพิเศษตัวต่อตัว Learn's AC
ติวเตอร์ ครูสอนพิเศษตัวต่อตัว Learn's AC