ติวเตอร์. บิ้ว คูรสอนพิเศษของ Learn'sAC
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
International Tourism and Hospitality Management
ติดต่อติวเตอร์ บิ้ว
ID: @learnsac คลิกเพิ่มเพื่อนวิธีการสมัครเรียนกับ Learn'sAC แอดไลน์ ID : @learnsac
วิธีการสมัครเรียนกับ Learn'sAC แอดไลน์ ID : @learnsac
สถานที่รับสอนพิเศษ
พระราม3 สาธร สีลม
รายละเอียดติวเตอร์
- ชื่อติวเตอร์: บิ้ว
- สังกัดการศึกษา: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
- การศึกษา: อุดมศึกษา ตรี
- คณะ: International Tourism and Hospitality Management
- วันที่อัพเดท: 4 พฤษภาคม 2567 / 23.54
- สถานที่รับสอน: พระราม3, สาธร, สีลม
- จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
- แท็ก: ติวเตอร์, สอนตามบ้าน
วิชาหลักสูตรที่สอน ติวเตอร์ที่สอน
ศูนย์รวมติวเตอร์กวดวิชาครูสอนสอนพิเศษตามบ้าน ติวเตอร์ตัวต่อตัว เรียนตัวต่อตัว เพื่อการสอบเข้ามัธยมปลาย มหาลัยที่ครบครันมากที่สุดในประเทศไทย
- ภาษาอังกฤษ : ประถมศึกษา, ป.1 - ป.6
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
International Tourism and Hospitality Management
รายละเอียดสังกัดการศึกษา
มหาวิทยาลัยกรุงเทพถือกำเนิดขึ้น จากการก่อตั้ง "วิทยาลัยไทยเทคนิค" (อังกฤษ: Thai Polytechnic Institute) ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2505 โดยสุรัตน์ และปองทิพย์ โอสถานุเคราะห์ (เจ้าของกิจการกลุ่มโอสถสภา) ซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินของทั้งสอง ภายในซอยบ้านกล้วยใต้ ริมถนนพระรามที่ 4 (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวิทยาเขตกล้วยน้ำไท) ซึ่งในสมัยนั้นยังเป็นถนนลูกรังอยู่ แต่เป็นย่านค้าขายของเหล่าบรรดานายห้างต่างชาติ รวมถึงท่าเรือสินค้าที่คลองเตยด้วย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 ผู้บริหารได้ทำการเปลี่ยนชื่อสถาบันแห่งนี้เป็น "วิทยาลัยกรุงเทพ" (อังกฤษ: Bangkok College) เนื่องจากชื่อเดิมสร้างความสับสนต่อประชาชนทั่วไป ที่คิดว่าเป็นโรงเรียนอาชีวศึกษา โดยในสมัยเริ่มแรก กระทรวงศึกษาธิการมิได้รับรองการจัดการศึกษาของโรงเรียน[ต้องการอ้างอิง] แต่เนื่องจากเป็นวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกที่เปิดสอนในระดับปริญญา ผู้บริหารจึงขอความร่วมมือทางวิชาการ จากมหาวิทยาลัยแฟรลีดิกคินสัน (Fairleigh Dickinson University) ประเทศสหรัฐอเมริกา ให้เป็นผู้รับรองวิทยฐานะของปริญญา โดยในสมัยนั้น ผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยกรุงเทพ จะมีปริญญาสองใบคือ จากวิทยาลัยกรุงเทพ และมหาวิทยาลัยแฟรลีดิกคินสัน[6]
ในระยะต่อมา วิทยาลัยกรุงเทพขยายตัวขึ้นเป็นลำดับ ขณะเดียวกัน มีการก่อตั้งวิทยาลัยเอกชน เพิ่มเติมขึ้นอีกหลายแห่ง เช่นวิทยาลัยการค้าหรือวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ส่งผลให้การแข่งขันของสถาบันการศึกษาเอกชนสูงขึ้น ผู้บริหารวิทยาลัยกรุงเทพ จึงวางโครงการขยายการศึกษา เพื่อยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยมาโดยตลอด จนกระทั่งเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2527 ทบวงมหาวิทยาลัยจึงยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยกรุงเทพ" (พร้อมกับมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย)[7]
มหาวิทยาลัยกรุงเทพมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว นำมาซึ่งการเปิดวิทยาเขตแห่งใหม่ บริเวณย่านรังสิต จังหวัดปทุมธานี ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากท่าอากาศยานดอนเมือง ไปตามถนนพหลโยธินเป็นระยะทาง 14 กิโลเมตร ภายในพื้นที่กว่า 400 ไร่ ซึ่งผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยมีความคาดหวัง ที่จะสร้างวิทยาเขตรังสิต ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีบรรยากาศ เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยชั้นนำ ในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา ซึ่งตั้งอยู่ในย่านชานเมือง อาคารเรียนต่างๆ มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ประกอบด้วยสวนหย่อม ซึ่งปลูกต้นไม้ไว้มาก รวมถึงขุดทะเลสาบ แต่เนื่องจากในยุคแรกที่ขยายวิทยาเขตนั้น ย่านรังสิตยังคงห่างไกลจากความเจริญของเมือง นักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงพากันขนานนามวิทยาเขตรังสิตว่าเป็น กระท่อมปลายนา