อยากสอบติดวิศวะ เตรียมตัวอะไรบ้าง
พูดถึงคณะวิศวกรรมศาสตร์ คงเป็นคณะที่ใครหลายๆคนใฝ่ฝันที่จะเข้าเรียนต่อ แต่น้องบางคนอาจจะยังไม่รู้ว่าจริงๆ ว่าคณะวิศวะเรียนอะไรบ้าง และมีสาขาอะไรบ้าง
พูดถึงคณะวิศวกรรมศาสตร์ คงเป็นคณะที่ใครหลายๆคนใฝ่ฝันที่จะเข้าเรียนต่อ แต่น้องบางคนอาจจะยังไม่รู้ว่าจริงๆ ว่าคณะวิศวะเรียนอะไรบ้าง และมีสาขาอะไรบ้าง
วันนี้ Learn’sAC จะพาน้องๆ มาทำความรู้จักคณะวิศวะกันให้มากขึ้นว่าต้องสอบเข้ายังไง มหาลัยไหนดี เตรียมตัวยังไงเพื่อให้สอบติด สำหรับน้องๆ ที่มีความฝันอยากเข้าคณะวิศวะมาดูกันเลย
วิศวะมีสาขาอะไรบ้าง
แต่ละมหาลัยฯจะมีสาขาในคณะวิศวกรรมที่แตกต่างกันออกไป น้องๆที่อยากเข้าคณะวิศวะควรมองหาสาขาที่ตัวเองต้องการเรียนละหาข้อมูลหลักสูตรตามแต่ละมหาวิทยาลัยเพื่อเตรียมตัวในการสอบเข้า แต่ละมหาลัยก็มีชื่อเสียงในภาควิชาที่แตกต่างกันออกไป
ภาควิชาวิศวกรรมโยธา (Civil Engineering)
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering)
ภาควิชาวิศวกรรมเคมี (Chemical Engineering)
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering)
ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ (Materials Engineering)
ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ (Aerospace Engineering)
ภาควิชาวิศวกรรมปิโตรเลียม (Petroleum Engineering)
ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ (Department of Water Resources Engineering)
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering)
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering)
ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Department of Environmental Engineering)
ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Engineering)
ภาควิชาวิศวกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ (Logistics Engineering)
มหาวิทยาลัยที่เปิดรับคณะวิศวกรรมศาสตร์
แทบจะทุกมหาลัยฯที่มีคณะวิศวกรรมศาสตร์ แต่ในบางมหาลัยฯอาจมีสาขาที่แตกต่างกันออกไปตามแต่หลักสูตรของมหาลัยฯนั้นๆ มาดูกันเลยว่ามหาวิทยาลัยที่ไหนมีคณะวิศวกรรมศาสตร์บ้าง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยศิลปากร
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มหาวิทยาลัยบูรพา
อยากเข้าวิศวะต้องทำยังไงบ้าง
คณะวิศวะกรรมศาสตร์เปิดรับทั้ง 4 รอบ TCAS ได้แก่
รอบ1 Portfolio รอบนี้จะใช้ผลงานเก่าของน้องๆ ในการตัดสิน เช่น การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ การแข่งขันเป็นตัวแทนโรงเรียน การทำโครงงาน
รอบ 2 Quota รอบนี้สำหรับน้องๆ ที่อยู่ในเกณฑ์ตามกำหนดของมหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่จะเป็นนักเรียนในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย เช่น โควต้านักเรียนภาคเหนือ โควต้านักกีฬา โควต้านักดนตรี โควต้าเด็กเรียนดี
รอบ 3 Admission รอบนี้จะเป็นรอบเดียวกันทั่วประเทศ ผ่านระบบกลางของทปอ. โดยใช้เกณฑ์การวัดจากเกรด คะแนนในการสอบ TGAT/TPAT A-Level เป็นหลัก ซึ่งคณะวิศวะส่วนใหญ่ใช้เกณฑ์คะแนน TPAT3 แทบทุกมหาวิทยาลัย
รอบ 4 Direct Admission รอบนี้จะเป็นรอบรับตรงกับมหาวิทยาลัย จะใช้ข้อสอบตรงจากคณะ หรือบางที่อาจใช้คะแนน TGAT/TPAT A-Level ในการประเมินด้วย สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ตามเว็บไซด์ของมหาวิทยาลัยที่ตนเองสนใจได้เลย
TPAT3 คืออะไร ออกสอบอะไรบ้าง ?
TPAT3 คือ ข้อสอบ ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ จะใช้ในการยื่นคะแนนในรอบ Admission (อาจใช้ในรอบ Portfolio และ โควต้า ในบางมหาวิทยาลัย) สามารถเลือกรูปแบบการสอบได้ ว่าจะสอบผ่านกระดาษ หรือสอบผ่านคอมพิวเตอร์ ข้อสอบ TPAT3 ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่
การทดสอบความถนัด (aptitude test) ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
60 คะแนน 45 ข้อ ประกอบด้วย
ด้านตัวเลข จำนวน 15 ข้อ รวม 20 คะแนน
ด้านมิติสัมพันธ์ จำนวน 15 ข้อ รวม 20 คะแนน)
ด้านเชิงกล และ ด้านฟิสิกส์ จำนวน 15 ข้อ รวม 20 คะแนน
การทดสอบความคิดและความสนใจ ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
40 คะแนน 25 ข้อ ประกอบด้วย
ความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ จำนวน 15 ข้อ รวม 20 คะแนน
ความสนใจข่าวสารความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ จำนวน 10 ข้อรวม 20 คะแนน
**ระยะเวลาที่ใช้สอบ 180 นาที**