ติวเตอร์ 10 ภาควิชา วิศวะเกษตร
เนื้อหาน่ารู้
| 12 สิงหาคม 2567 | เนื้อหาน่ารู้, Dek68, ต้องรู้ก่อนเรียน, เนื้อหาน่ารู้

10 ภาควิชา วิศวะเกษตร

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มากถึง 15,082 คน โดยสาขาที่ไดรับความนิยมสูงสุด ได้แก่ วิชาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมเครื่องกล

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถือว่าเป็นคณะยอดนิยมที่ถูกให้ความสนใจในการสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นมหาวิทยาลัยเป็นอย่างมาก จากข้อมูลใน TCAS ปี 2567 มีผู้สนใจสมัครเลือกสาขาวิชาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มากถึง 15,082 คน โดยสาขาที่ไดรับความนิยมสูงสุด ได้แก่ วิชาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมเครื่องกล

วันนี้ทาง Learn’AC จะมาสรุปภาควิชาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้น้องๆมัธยมศึกษาตอนปลายได้รู้ถึงข้อมูลของแต่ละภาควิชาว่าเรียนอะไรบ้าง แต่ละภาควิชาเหมาะกับใคร ก่อนที่จะตัดสินใจในการเลือกภาควิชาที่ใช่กัน


  1. ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ

เป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกในประเทศไทย ที่เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสาขาวิศวกรรมการบินและอวกาศ


เรียนอะไรบ้าง

  • ประกอบด้วยการศึกษาทางด้านอากาศพลศาสตร์ การวิเคราะห์โครงสร้าง การออกแบบอากาศยาน กระบวนการผลิต การซ่อมบำรุงอากาศยาน เครื่องยนต์เจ็ท และเทคโนโลยีอวกาศ 

  • เมื่อสำเร็จการศึกษาในชั้นปีที่ 3 จะได้มีโอกาสฝึกงานในภาคอุตสาหกรรมเพื่อเรียนรู้การปฏิบัติงานจริงในหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น ฝ่ายซ่อมบำรุงของสายการบินต่างๆ โรงงานผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน


เส้นทางอาชีพ

  • สายงานด้านวิศวกรรมการบินและอวกาศ 

  • ออกแบบและสร้างอากาศยาน 

  • พัฒนาเครื่องยนต์เจ็ท 

  • ควบคุมการซ่อมบำรุงอากาศยานและชิ้นส่วนประกอบ

  • สายงานการควบคุมวงโคจรและสถานีดาวเทียม

  • ฝ่ายวางแผนและซ่อมบำรุงของสายการบิน

  • บริษัทผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน 

  • บริษัทผลิตเครื่องบิน


  1. ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มุ่งเน้นในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ทั้งเชิงทฤษฎีและปฏิบัติที่ได้มาตรฐานสากล สามารถนำการเรียนไปวิเคราะห์ปัญหาและออกแบบพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ทั้งในด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์


เรียนอะไรบ้าง

  • โครงสร้างพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์

  • การออกแบบและพัฒนาโปรแกรม 

  • การเขียนโปรแกรมเบื้องต้นด้วยภาษาระดับสูง 

  • การพัฒนาฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์

  • การออกแบบระบบดิจิทัล


เส้นทางอาชีพ

  • วิศวกรคอมพิวเตอร์

  • นักวิชาการคอมพิวเตอร์

  • วิศวกรวิเคราะห์ ออกแบบระบบงานและฐานข้อมูล

  • นักเขียนและพัฒนาโปรแกรม

  • ผู้เชี่ยวชาญระบบข้อมูล

  • นักทดสอบผลิตภัณฑ์ (Software Tester)


  1. ภาควิชาวิศวกรรมเคมี

เป็นภาควิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบและควบคุมการทำงานของกระบวนการทางเคมี  รวมถึงหลักการของกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ  ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนส่วนผสม  สถานะ  และลักษณะสมบัติของวัตถุดิบที่กลายไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ  ตามความต้องการอย่างปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


เรียนอะไรบ้าง

  • การออกแบบอุปกรณ์โรงงาน

  • กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ

  • วิศวกรรมเคมีพื้นฐาน  ด้านพลังงาน  สิ่งแวดล้อม  ความปลอดภัย 

  • การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์  และซอฟท์แวร์

  • การเร่งปฏิกิริยา


   เส้นทางอาชีพ

  • วิศวกรเคมี 

  • เป็นวิศวกรออกแบบและพัฒนากระบวนการผลิต  

  • งานวิเคราะห์และบริหารโครงการ  

  • งานควบคุมกระบวนการผลิต

  • วิศวกรเคมีที่ปรึกษาด้านงานขายและงานบริการทางเทคนิค 

  • นักวิจัยและพัฒนาในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมี



  1. ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล

เป็นศาสตร์ทางวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้หลักการทางฟิสิกส์สำหรับการวิเคราะห์ออกแบบ ผลิต และบำรุงรักษาระบบทางกลวิศวกรรมเครื่องกลนั้นถือว่าเป็นสาขาวิชาหลักสาขาหนึ่งทางด้านวิศวกรรมศาสตร์


เรียนอะไรบ้าง

  • กลศาสตร์ 

  • จลนศาสตร์ 

  • อุณหพลศาสตร์ 

  • กลศาสตร์ของไหล

  • ปรับอากาศ

  • ยานยนต์

  • ระบบพลศาสตร์

  • พลังงาน

  • การป้องกันอัคคีภัย


เส้นทางอาชีพ

  • งานออกแบบระบบทางวิศวกรรม

  • ดูแลและควบคุมกระบวนการผลิต

  • ตรวจสอบและซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล

  • วิศวกรออกแบบและติดตั้งระบบทางวิศวกรรมเครื่องกล



  1. ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ

วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบันและจะยิ่งทวีความสำคัญมากยิ่ง ขึ้นเนื่องจากจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น แต่ทรัพยากรน้ำยังมีปริมาณอย่างจำกัด ในการเรียนภาควิชานี้จะเป็นการบังคับน้ำ การจัดการ และการใช้ประโยชน์จากน้ำ ตลอดจนการจัดการคุณภาพน้ำ


เรียนอะไรบ้าง

  • กลศาสตร์ของของไหล 

  • ชลศาสตร์ 

  • อุทกวิทยาของน้ำผิวดิน และน้ำใต้ดิน

  • การจัดการทรัพยากรน้ำ 

  • เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรน้ำ 

  • การออกแบบวิศวกรรมระบายน้ำ

  • การพัฒนาทรัพยากรน้ําเพื่อการอุปโภคบริโภค



เส้นทางอาชีพ

  • วิศวกรทรัพยากรน้ำ

  • วิศวกรในกรมชลประทาน 

  • วิศวกรในกรมทรัพยากรน้ำ

  • วิศวกรในโยธาผังเมือง



  1. ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

เป็นภาควิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการผลิต  การประยุกต์ใช้พลังงานไฟฟ้าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า อุปกรณ์ทางไฟฟ้า  อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำและวงจรไฟฟ้าต่างๆ  เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน


เรียนอะไรบ้าง

  • เรียนเกี่ยวกับการออกแบบวงจรไฟฟ้า  ระบบไฟฟ้า

  • วิเคราะห์วงจรไฟฟ้า  ระบบไฟฟ้า

  • การรับส่งข้อมูลในรูปสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

  • การควบคุมระบบอัตโนมัติ

  • เทคโนโลยีสารกึ่งตัวนำในระดับไมโครเมตรและนาโนเมตร

  • การแปลงผันพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานสะอาด



เส้นทางอาชีพ

  • วิศวกรไฟฟ้า

  • วิศวกรไฟฟ้าในองค์กรที่เกี่ยวกับระบบสื่อสาร

  • วิศวกรไฟฟ้าระบบการผลิตและจำหน่ายไฟ

  • วิศวกรในการไฟฟ้า

  • ผู้ผลิตและออกแบบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมทุกประเภทที่ใช้ระบบไฟฟ้า

  • วิศวกรออกแบบและรักษาระบบสื่อสารและระบบควบคุมในอุตสาหกรรมต่าง ๆ



  1. ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ

เป็นภาควิชาบูรณาการความรู้  ที่มุ่งเน้นการศึกษาสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้าง  สมบัติ  กระบวนการผลิต  และสมรรถนะของวัสดุเชิงวิศวกรรม  ซึ่งแบ่งเป็น  

วัสดุโครงสร้าง เช่นโลหะ เซรามิก พอลิเมอร์ และวัสดุผสม  

วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วัสดุกึ่งตัวนำ และวัสดุตัวนำยิ่งยวด  

วัสดุขั้นสูงอื่นๆ เช่น วัสดุชีวภาพ วัสดุพลังงาน และวัสดุนาโน


เรียนอะไรบ้าง

  • ความรู้พื้นฐานด้านกระบวนการผลิต  

  • เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องของวัสดุเชิงวิศวกรรม 

  • การพัฒนาวัสดุ หรือผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่  

  • กระบวนการผลิตแบบใหม่  รวมทั้งปรับปรุงวัสดุ  ผลิตภัณฑ์

  • พัฒนากระบวนการผลิตที่มีอยู่เดิมให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น 

  • การวิเคราะห์โครงสร้างและสมบัติของวัสดุ  

  • การวิเคราะห์หาสาเหตุความวิบัติของวัสดุ  

  • การคัดเลือกวัสดุเพื่อใช้ในการออกแบบ  

  • การวางแผนควบคุมคุณภาพและการผลิต

  • การวิเคราะห์และตรวจสอบวัสดุ


เส้นทางอาชีพ

  • วิศวกรกระบวนการ

  • ทำงานในหน่วยงานของรัฐและเอกชนในตำแหน่งงาน

  • งานด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อคิดค้น  

  • งานด้านการปรับปรุงวัสดุ  ผลิตภัณฑ์  หรือกระบวนการการผลิต  

  • งานวิจัยและพัฒนาเพื่อคิดค้นหรือปรับปรุง  วัสดุ  ผลิตภัณฑ์  หรือกระบวนการผลิต



  1. ภาควิชาวิศวกรรมโยธา

ภาควิชาวิศวกรรมโยธา หลักสูตรมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความเชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรมโยธาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฎิบัติ สามารถนำไปพัฒนาเทคโนโลยีทางวิศวกรรมโยธาแล้วนำไปประยุกต์ใช้งานตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม


เรียนอะไรบ้าง

  • วิศวกรรมขนส่ง และโลจิสติกส์

  • การออกแบบโครงสร้างไม้ เหล็ก คอนทรีตเสริมเหล็ก

  • สำรวจชั้นดิน การออกแบบฐานราก การวิเคราะการทรุดตัว ปัญหาแรงดันดิน

  • สัญญาการๆก่อสร้าง การประมาณราคา การสำรวจแรงงานในการก่อนสร้าง

  • กลศาสตร์ของดิน

  • การออกแบบการก่อสร้างอาคาร สะพาน ระบบระบายน้ำ

  • ผังเมือง โครงสร้างพื้นฐาน


เส้นทางอาชีพ

  • วิศวกรโยธา

  • โฟร์แมน

  • ช่างโยธา ช่างสำรวจ

  • นักออกแบบ  เขียนแบบ  ประมาณราคางานก่อสร้าง

  • ผู้รับเหมางานก่อสร้าง

  • ผู้บริหารโครงการก่อสร้าง



  1. ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เป็นสาขาวิชาที่มุ่งเน้นในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม  เช่น  การบำบัดน้ำเสีย การผลิตน้ำประปา การควบคุมมลพิษทางอากาศ การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย และการจัดการระบบสิ่งแวดล้อม เช่น ISO14000, การประเมินและจัดทำรายงาน EIA, การประเมิน LCA นอกจากนี้ยังมีประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลังเป็นที่สนใจอื่นๆ เช่น ขยะทะเล ไมโครพลาสติก การ recycle การผลิตพลังงานจากขยะ (waste to energy) การนำของเสียหรือน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่


เรียนอะไรบ้าง

  • ชีวภาพทางเคมี

  • กายภาพของน้ำ และน้ำเสีย

  • วัฏจักรอุทกวิทยา น้ำท่า การระเหย การคายระเหย

  • แผนที่ มาตราส่วน การใช้กล้องในการวัดมุม

  • สุขาภิบาลอาคาร และระบบระบายน้ำ

  • มลพิษทางอากาศ ทางเสียง

  • การบำบัดน้ำเสีย การจัดการคุณภาพน้ำ


เส้นทางอาชีพ

  • วิศวกรที่ปรึกษาด้านการออกแบบแก้ไขปัญหามลพิษ

  • วิศวกรโรงงานควบคุมระบบจัดการมลพิษน้ำเสีย ขยะ อากาศ

  • ผู้ตรวจประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระบบป้องกันและจัดการมลพิษ ระบบมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม

  • นวัตกรคิดค้นผลิตภัณฑ์รักษ์โลก 

  • ผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคม

  • นักวิจัย นักวิชาการ ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการมลพิษและการดูแลสิ่งแวดล้อม



  1. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

วิศวกรรมอุตสาหการ เป็นภาควิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างการปรับปรุงและการใช้งานระบบที่เกิดจากการรวมกันของคน ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร วัตถุดิบ เครื่องจักรและกระบวนการ ให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของลูกค้าในระยะเวลาที่ต้องการด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด


เรียนอะไรบ้าง

  • เรียนเรื่องการจัดการคน วัตถุดิบ เครื่องจักรและอุปกรณ์

  • การจัดการสิ่งที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด  

  • ใช้หลักการทางคณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานสำคัญในการตัดสินใจ

  • วัสดุและกระบวนการผลิต

  • การศึกษางานและระบบผลิต

  • ระบบการผลิตที่มีคุณภาพ

  • การจัดการการผลิตและการดำเนินการผลิต


เส้นทางอาชีพ

  • ผู้จัดการโรงงาน

  • วิศวกรระบบ

  • วิศวกรโรงงาน

  • วิศวกรโครงการ

  • วิศวกรในหน่วยงานของรัฐ

  • วิศวกรในสถาบันการเงินและอุตสาหกรรมบริการชั้นนำของประเทศ

บทความแนะนำ

8 วิธีพัฒนาภาษาอังกฤษ..

การสอดแทรกภาษาอังกฤษเข้าไปในทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่นเวลาดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ เปลี่ยนสภาพแวดล้อมของเราให้ล้อมรอบไปด้วยภาษาอังกฤษ เมื่อเราเจอมันทุกวันๆ เราจะคุ้นชินและเก่งยิ่งขึ้น

วิธีเปิดใจให้กับภาษาอังกฤษ

วันนี้ Learn’sAC มีวิธีคิดและวิธีทำให้สำหรับน้องๆ ที่ยังไม่เปิดใจในภาษาอังกฤษ

GPAX กับ GPA ต่างกันยังไง..?

น้องๆหลายคนอาจจะงงว่า GPAX และ GPA แตกต่างกันยังไง

5 ภาษาที่3น่าเรียน ได้เปรียบแน่นอน

ภาษาที่3 เป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากปัจจุบันโลกธุรกิจ ต้องใช้ภาษาที่สามในการสื่อสารยิ่งใครรู้ภาษาที่สามก็จะมีข้อได้เปรียบในการประกอบอาชีพ

อยากสอบติดวิศวะ เตรียมตัวอะไรบ้าง

พูดถึงคณะวิศวกรรมศาสตร์ คงเป็นคณะที่ใครหลายๆคนใฝ่ฝันที่จะเข้าเรียนต่อ แต่น้องบางคนอาจจะยังไม่รู้ว่าจริงๆ ว่าคณะวิศวะเรียนอะไรบ้าง และมีสาขาอะไรบ้าง

สายศิลป์ VS สายวิทย์ ต่างกันยังไง..?

สำหรับน้องๆที่กำลังจะขึ้นม.ปลายแล้วกำลังตัดสินใจในการเรียนต่อสายไหนดี ทั้งสายวิทย์-คณิต สายศิลป์-คำนวณ และสายศิลป์-ภาษา ก่อนที่น้องๆจะตัดสินใจเลือกสายในม.ปลาย

10 โรงเรียนดัง ม.ปลายในกรุงเทพ

สำหรับน้องๆ ที่ต้องการเรียนต่อระดับมัธยมปลายถือเป็นอีกหนึ่งจุดเปลี่ยนสำคัญที่ส่งผลต่ออนาคตการเรียนของน้องๆ โดยเฉพาะการวางแผนเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย เพราะแต่ละคณะจะมีเกณฑ์รับนักเรียนจากแผนการเรียนที่แตกต่างกัน

10 ภาควิชา วิศวะเกษตร

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มากถึง 15,082 คน โดยสาขาที่ไดรับความนิยมสูงสุด ได้แก่ วิชาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมเครื่องกล

สอบเข้า ม.1 เตรียมตัวอะไรบ้าง..?

การสอบเข้า ม.1 ถือเป็นก้าวสำคัญสำหรับวัยเรียนเป็นอย่างมาก การที่ได้เข้าโรงเรียนที่มีชื่อเสียง หรือโรงเรียนที่เราใฝ่ฝันถือเป็นบันไดแห่งความสำเร็จด้านการเรียนที่สามารถนำไปต่อยอดในอนาคตได้

จะเรียนอินเตอร์ต้องรู้ SAT คืออะไร ทำไมต้องสอบ

การสอบ SAT สำคัญแค่ไหนสำหรับคนจะสอบเข้าอินเตอร์ มาดูกัน

คณิตศาสตร์ ม.3 เรียนอะไรบ้าง..?

เรียนล่วงหน้ากันก่อนขึ้นม.3 เนื้อหาคณิตศาสตร์ตามหลักสูตรที่ต้องเรียน

ทำไมต้องสอบ TOEIC ..?

ความสำคัญของ คะแนนTOEIC สามารถยื่นสมัครงาน เลื่อนตำแหน่ง และอัพเงินเดือนเพิ่มสูงขึ้นได้

วิธีการสมัครเรียนกับ Learn'sAC

แอดไลน์ ID : @learnsac

แอดไลน์ ID : @learnsac

วิชาที่คุณต้องการสำคัญมากในการค้นหาติวเตอร์ที่เหมาะสม เช่น ภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์, ฯลฯ. และ หลังจากที่คุณตัดสินใจเลือกติวเตอร์แล้ว, คุณสามารถติดต่อพวกเขาโดยตรงผ่านทางแพลตฟอร์มที่คุณเลือก. ตอนนี้คุณสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเรียนการสอน, เวลา, และค่าใช้จ่าย. จัดการเรียนรู้ของคุณเพื่อให้เข้ากับตารางเวลาของติวเตอร์ และเช่นกันว่าติวเตอร์ก็ต้องปรับตารางเวลาให้เข้ากับคุณ. คุณก็สามารถเริ่มการเรียนรู้กับติวเตอร์ของคุณได้!

  • เปิดแอป LINE บนอุปกรณ์ของคุณ
  • ไปที่แท็บ "เพื่อน" ที่มุมล่างขวา
  • กดที่ไอคอน "เพิ่มเพื่อน" ที่อยู่บนขวามือ
  • ในหน้าต่างที่ปรากฏขึ้น, คุณสามารถค้นหาบัญชี LINE Official ที่ต้องการด้วยชื่อ
  • เมื่อคุณเจอบัญชีนั้น, คลิก "เพิ่มเพื่อน" หรือ "ติดตาม"
ติวเตอร์ ครูสอนพิเศษตัวต่อตัว Learn's AC
ติวเตอร์ ครูสอนพิเศษตัวต่อตัว Learn's AC